Sea (ประเทศไทย) ชูธุรกิจ "อีคอมเมิร์ซ" และ "ดิจิตอลเอ็นเตอร์เทนเม้นท์" ต่อยอดแผน SMEs- เยาวชน ในช่วง New Abnormal

Playulti 07 Jul 2020, 20:35:02
ข่าวเกมในประเทศ

ช่วงวิกฤติ COVID-19 ทำให้เกิดผลกระทบในการดำเนินธุรกิจของครอบครัวและผู้ประกอบการหลายๆ คน ทาง Sea (ประเทศไทย) กลุ่มบริษัทที่ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มที่ประกอบด้วย การีน่า (Digital Entertainment) ช้อปปี้ (e-Commerce) และ ซีมันนี่ (Digital Financial Services) ต่อยอดแผนผู้ดูแลกลุ่ม SMEs และมุ่งสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อย่างต่อเนื่อง ในช่วง New Abnormal

นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) ได้กล่าวถึงมาตรการสนับสนุนธุรกิจ SMEs ว่า "ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เราสามารถเห็นได้ว่าภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงบริษัทในเครือ Sea (ประเทศไทย) ได้ออกมาผลักดันมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยเราพบว่าผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มที่เป็นผู้ใช้งานเดิมของช้อปปี้มีอัตราการเติบโตของธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นและมีแผนในการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจในระยะยาว นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการ รายใหม่ที่ปรับตัวเข้ามาขายของบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของช้อปปี้ ซึ่งต้องการได้รับสนับสนุนในการเริ่มต้นธุรกิจทั้งด้านความรู้ด้านการทำตลาดแบบออนไลน์ รวมไปถึงการได้รับทรัพยากรด้านเงินลงทุนในช่วงแรก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ "Shopee Seller Support Package" ซึ่งจัดทำร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการให้ความรู้และการสนับสนุนร้านค้าที่เข้ามาลงทะเบียนร่วมโปรแกรมเพื่อรับรายการสนับสนุนต่างๆ รวมมูลค่า 5,000 บาท และสิทธิประโยชน์จากช้อปปี้ในการเริ่มต้นธุรกิจ รวมไปถึงการสนับสนุนด้านการทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการเติบโตของการเข้าชมร้านค้าและยอดขาย ซึ่งได้รับความสนใจจากพ่อค้าแม่ค้าทั่วประเทศไทย"

ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็รับเอา Digital Solution เข้ามาใช้ในการจับจ่ายมากขึ้นเพื่อขานรับชีวิตใหม่ในยุค New Abnormal โดยพบว่าผู้ใช้งานอีคอมเมิร์ซในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้บริโภคในกรุงเทพฯ มีความถี่ในการใช้งานอีคอมเมิร์ซสูงสุด คิดเป็น 48% ของพัสดุสินค้าทั้งหมดจากอีมาร์เก็ตเพลส ด้านช้อปปี้ก็พบแนวโน้มพฤติกรรมที่สอดคล้องกันคือ ผู้ซื้อจากทั่วประเทศใช้เวลาบนแอปพลิเคชั่นช้อปปี้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20% ต่อสัปดาห์


และข้อมูลจากช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 ยังพบว่าผู้ซื้อเลือกชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าแอปพลิเคชันแอร์เพย์เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากในกลุ่มวัยทำงานตอนต้น
(First Jobber) และวัยทำงาน (Jobber) ซึ่งเป็นเทรนด์ที่สอดคล้องกับข้อมูลการชำระเงินเดือนมีนาคม 2563 จากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งชี้ว่ามีการใช้ Digital Payment เพิ่มขึ้นกว่า 40% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถขานรับการเติบโตของความต้องการผู้บริโภคบนตลาดอีคอมเมิร์ซได้ ช้อปปี้ได้ยกระดับภาพระบบจัดการร้านค้าให้ตอบโจทย์ผู้ขายทั้งในด้านการบริหารจัดการคลังสินค้า การประเมินความต้องการที่มีต่อสินค้าแต่ละชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ร้านค้าสามารถหาสินค้ามาให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งยังมีเครื่องมือทางการตลาดและการให้คำปรึกษาด้านการตลาดจากทีมงานช้อปปี้ ซึ่งผู้ขายสามารถนำไปปรับใช้เพื่อส่งเสริมการขายได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งทำควบคู่ไปกับการให้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะในการขายสินค้าออนไลน์ทั้งในระดับพื้นฐานและขั้นสูง ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Shopee E-learning และ Shopee University Webinar ซึ่งมีการพัฒนาหลักสูตรให้หลากหลาย เข้าใจง่าย ไม่ว่าใครก็สามารถเลือกเรียนหลักสูตรที่เหมาะสมกับตัวเองได้

“นอกจากการสนับสนุน SMEs แล้ว อีกกลุ่มเป้าหมายที่ Sea (ประเทศไทย) เล็งเห็นว่ามีความเปราะบางได้แก่กลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่จากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นการเลื่อนเปิดเทอมทั่วประเทศไทย และชีวิตความเป็นอยู่ที่อาจได้รับผลกระทบจากรายได้ครัวเรือนที่ลดลงและการเลื่อนเปิดเทอ
มดังกล่าว” นางสาวมณีรัตน์ กล่าวเสริม นอกจากการสื่อสารผ่านคอมมูนิตี้การีนาซึ่งเปรียบเสมือนแหล่งรวมตัวของคนรุ่นใหม่
เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและวัยรุ่นได้รับทราบและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการรับมือสถานการณ์ COVID-19 อย่างถูกต้องแล้ว Sea
(ประเทศไทย) และการีนา (ประเทศไทย) ยังต่อยอดการดูแลกลุ่มเยาวชนผ่าน 2 โครงการ ได้แก่
1. โครงการมอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
โดยการีนา (ประเทศไทย)
สมทบทุนร่วมกับมูลนิธิยุวพัฒน์เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนผู้ด้อยโอกาส
และร่วมมือกับแอปพลิเคชันการศึกษา StartDee ซึ่งมีเนื้อหาครบทุกวิชาหลัก ตั้งแต่
ป.1 - ม.6 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อมุ่งส่งเสริมให้เยาวชนในครอบครัวที่มีรายได้น้อยได้มีโอกาสเข้าถึงช่องทางการเ
รียนรู้ทางเลือกที่มีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์
การจัดสรรเวลาของเด็กๆ
และส่งเสริมให้การเรียนรู้ภายในโรงเรียนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

2. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตเยาวชนในครอบครัวที่มีรายได้น้อยทั้งการสนับสนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อจัดหาอาหารให้แก่นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 761,729 คน ที่มาจากครอบครัวซึ่งมีรายได้น้อยที่สุด 20% ของประเทศไทย ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาอาหารกลางวันในโรงเรียนเป็นอาหารมื้อหลัก ตลอดจนการให้ทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลเด็กเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ด้อยโอกาส

กำลังโหลด...