1. รถเมล์โดยสารประจำทาง ทั้ง รถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) และรถเอกชนร่วมบริการ สายการเดินทางดังนี้
ขสมก. : 1, 2, 3, 15, 25, 42, 47, 53, 59, 60, 68, 70, 89, 80, 82, 91, 203, 503, 508, 509, 511, 516 และ 556 ทั้งนี้รถเมล์ปกติสายดังกล่าว ได้จัดให้บริการฟรีในวันที่ 14 – 16 ตุลาคม 2559
รถเอกชนร่วมบริการ : 6, 9, 30, 33, 39, 43, 44, 48, 64, 123, 507 และ 524
ทั้งนี้ผู้เดินทางสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายเดินรถจากทาง สายด่วน ขสมก. ที่ 1348
นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2559 หน่วยงานต่างๆ รวมถึงกองทัพไทย ได้จัดบริการรถรับส่งฟรีระหว่างสนามหลวง กับ 6 จุดบริการ ได้แก่ สนามศุภชลาศัย อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ สถานีขนส่งสายใต้เก่า และเส้นทางจากทุ่งสีกัน ผ่านวิภาวดี ดินแดง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เข้าสนามหลวง และ ทุ่งสีกัน ผ่านคลองกระปา ประชาชื่น พระราม 5 เข้าสนามหลวง
ที่มา: www.bmta.co.th
http://news.voicetv.co.th/business/422688.html
2. เรือด่วนเจ้าพระยาและเรือโดยสารข้ามฟาก
เรือโดยสารข้ามฟาก : ประชาชนจากฝั่งธนบุรี (ย่านวังหลัง โรงพยาบาลศิริราช) สามารถเดินทางโดยใช้บริการเรือโดยสารข้ามฟากไปยังท่าช้าง ท่าพระจันทร์ และท่าสะพานพระปิ่นเกล้า จากฝั่งวังหลังตามตารางด้านล่าง และยังมีบริการเรือข้ามฟากระหว่างท่าพรานนกและท่าช้างโดยไม่คิดค่าบริการอีกด้วย
เรือด่วนเจ้าพระยา : ได้มีเสริมเที่ยวโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยาทั้งเรือด่วนปกติ และเรือด่วนโดยสารโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอีก 3 ลำ และเพิ่มความถี่ในการให้บริการจากทุก 15 – 20 นาที เป็นทุกๆ 10 นาที
ที่มา: ข่าวกรมเจ้าท่า ฉบับที่ 111/2559
http://www.chaophrayaexpressboat.com/th/affiliates/Ferryboat.asp
3. รถไฟฟ้า BTS และ รถใต้ดิน BRT เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ประชาชนสามารถเดินทางโดย BTS หรือ BRT ในเบื้องต้นเพื่อต่อรถและเรือโดยสารสาธารณะ โดยทำได้ดังนี้
BTS สถานีสะพานตากสิน (S6) ต่อเรือด่วนที่ ท่าเรือสาทร ลงเรือด่วนเจ้าพระยา ธงสีส้มไปท่าช้าง
BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) ต่อรถเมล์ที่หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ สาย15, 47, 508
BTS สถานีสยาม (CEN) ต่อรถเมล์ตรงข้ามสยามพารากอนแถวแยกปทุมวัน ใกล้สยามและมาบุญครอง สาย15, 25, 508
MRT สถานีหัวลำโพง ต่อต่อรถเมล์หน้าโรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์สาย 25, 53
4. สำหรับประชาชนผู้มาจากต่างจังหวัด ทางบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีการเพิ่มจำนวนเที่ยวรถอีกร้อยละ 25 และเพิ่มตู้โดยสารพ่วง เพื่อรองรับการเดินทางเข้าถวายสักการะพระบรมศพ ดังนี้
เส้นทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ได้จัดเที่ยววิ่งรถโดยสารจากปกติ 6,833 เที่ยววิ่ง เป็น 8,544 เที่ยววิ่ง รองรับผู้โดยสารได้ 191,367 คน
เส้นทางภาคตะวันออกที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ได้จัดเที่ยววิ่งรถโดยสารจากปกติ 2,237 เที่ยววิ่ง เป็น 2,797 เที่ยววิ่ง รองรับผู้โดยสารได้ 52,667
เส้นทางภาคใต้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ถนนบรมราชชนนี) ได้จัดเที่ยววิ่งรถโดยสารจากปกติ 3,850 เที่ยววิ่ง เป็น 4,812 เที่ยววิ่ง รองรับผู้โดยสารได้ 94,439 คน
การขับรถยนต์โดยสารส่วนบุคคล
ในกรณีที่ประชาชนประสงค์ที่จะใช้รถยนต์ส่วนบุคคลนั้น เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการปิดถนนในบางเส้นและไม่อนุญาตให้จอดรถ ทางทีมงานจึงขอเรียนแจ้งเส้นทางที่ปิดถนน จุดห้ามจอดรถ ดังนี้
แจ้งปิดการจราจร 8 เส้นทาง ได้แก่ 1.ถนนราชดำเนินในตั้งแต่แยกผ่านพิภพลีลา-แยกป้อมเผด็จดัสกร 2.ถนนสนามไชยตั้งแต่ป้อมเผด็จดัสกร-วงเวียนรด. 3.ถนนหน้าพระลาน ตั้งแต่ป้อมเผด็จดัสกร-ท่าช้าง 4.ถนนหน้าพระธาตุตั้งแต่ประตูวิเศษไชยศรี-แยกตัดถนนพระจันทร์ 5.ถนนหับเผย 6.ถนนหลักเมือง 7.ถนนกัลยาณไมตรี-แยกช้างโรงสี 8.ซอยสราญรมย์
เส้นทางจัดระบบเดินรถทางเดียวหรือวันเวย์ 3 เส้นทางตลอด 24 ชม. ได้แก่ 1. ถนนหน้าพระจันทร์ ตั้งแต่แยกตัดถนนหน้าพระธาตุมุ่งหน้าท่าพระจันทร์ 2. ถนนมหาราชจากแยกตัดถนนพระจันทร์มุ่งหน้าแยกตัดถนนท้ายวัง และ 3. ถนนท้ายวังจากแยกตัดถนนมหาราชมุ่งหน้าวงเวียนรด.
บริเวณห้ามจอดรถทุกชนิด ตลอดเส้นทางตลอดเวลาบนถนน 18 สาย ได้แก่ ถนนราชดำเนินใน ถนนสนามไชย ถนนหลักเมือง ถนนกัลยาณไมตรี ซอยสราญรมย์ ถนนเจริญกรุง ถนนพระพิพิธ ซอยเศรษฐการ ถนนเชตุพน ถนนท้ายวัง ถนนมหาราช (ข้างพระบรมมหาราชวัง) ถนนมหาราช (ข้างวัดพระมหาธาตุ) ถนนพระจันทร์ ซอยพระยาเพชร ถนนหน้าพระลาน ถนนหน้าพระธาตุ ถนนราชินี และ ถนนพระอาทิตย์
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเส้นทางแจ้งอุบัติเหตุจราจรและข้อมูลสภาพการจราจรเพิ่มเติมสามารถได้ที่ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร บก.02 ได้ที่หมายเลข โทรศัพท์ 1197
ที่มา : http://www.thansettakij.com/2016/10/15/106285
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_58343
การแต่งกายไว้อาลัยและการแต่งกายเพื่อเข้าร่วมถวายสักการะพระบรมศพ
สามารถใส่เสื้อยืดสีดำได้ หลีกเลี่ยงลวดลายฉูดฉาด หรือเสื้อแขนยาว มีปก และติดปลอกแขนทุกข์ ทำโดยผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งสีดำกว้าง 4 นิ้ว ความสูงของด้านบนของปลอกแขนทุกข์ ต้องเสมอกับแนวรักแร้ โดยติดทางด้านซ้ายมือ เท่านั้น ควรสวมกางเกงขายาวสีดำ ชุดสูทสีดำ รองเท้าหนัง หรือ รองเท้าผ้าใบสีสุภาพ หลีกเลี่ยงรองเท้าแตะ รองเท้าใส่เล่น ยีนส์, กางเกงขาสั้น, หมวกแก๊บ
ควรแต่งกายด้วยโทนสีดำ หรืออาจแซมสีขาวหรือเทา ไม่มีลวดลาย คอไม่กว้าง มีแขน ไม่รัดรูปจนเกินไป หากสวมเสื้อแขนกุดหรือเดรสแขนกุด สามารถสวมคาดิแกนหรือสูทสีดำ กระโปรง หรือ เดรส ยาวถึงเข่า หลีกเลี่ยงเครื่องประดับวาว สำหรับการไปงานควรใส่รองเท้าหุ้มส้น ใส่ถุงน่อง
สำหรับบางคนที่มีความจเป็นต้องใส่เครื่องแบบ หรือไม่มีชุดสีดำ สามารถแต่งกายสีพื้นโทนสงบและกลัดริบบิ้นสีดำที่อกด้านซ้ายเพื่อแสดงการไว้อาลัย
ที่มา : https://www.wongnai.com/articles/how-to-wear-mourning-dress
ครั้งนี้ ทีมงานขอเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์แก่พสกนิกรชาวไทย ร่วมใจน้อมส่งเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรสู่สวรรคาลัย